ความสำคัญของการจัดการศึกษาปฐมวัย

ความสำคัญของการจัดการศึกษา

                  การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนามนุษย์  การพัฒนาเด็กปฐมวัยควรเริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง  ๕  ปี  ซึ่งนักการศึกษาและนักจิตวิทยามีความเห็นตรงกันว่าเด็กปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญในการพัฒนาสมองโดยเฉพาะระบบประสาท และเซลล์สมองจะเจริญเติมโตประมาณร้อยละ  ๗๐  -  ๘๐  ของผู้ใหญ่  และการศึกษาในช่วงปฐมวัยเป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็กได้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพโดยให้การอบรมเลี้ยงดูควบคู่ไปกับการให้การศึกษาที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิติ  ความสำคัญของการศึกษาปฐมวัยคือการที่ครูจะสอนได้ดีนั้นจำเป็นต้องศึกษาเด็ก  ยิ่งกว่านั้นงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการทางสมองมนุษย์ยั้งเน้นความสำคัญของการศึกษาปฐมวัยโดยเฉพาะในช่วงของ5 ของปีแรกของชีวิตว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนรู้ และเด็กจำเป็นต้องได้รับการดูแล เอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้ดูแลตั้งแต่แรกเกิดโดยการให้ความรัก การโอบกอด สัมผัส พูดคุย และเล่นกับเด็กเพื่อให้สมองของเด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ตามศักยภาพ การเข้าใจพัฒนาเด็กส่งผลดีต่อครูผู้สอนหลายประการ ผลดีประการหนึ่งคือ ช่วยให้ครูเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็กได้ดียิ่งขึ้น ยังสามารถวางแผนหลักสูตร การเรียนการสอนได้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนได้มากขึ้นศักยภาพ การเข้าใจพัฒนาเด็กส่งผลดีต่อครูผู้สอนหลายประการ ผลดีประการหนึ่งคือ ช่วยให้ครูเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็กได้ดียิ่งขึ้น ยังสามารถวางแผนหลักสูตร การเรียนการสอนได้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนได้มากขึ้น


                เมื่อตระหนักว่าเด็กมีความสำคัญต่อประเทศ ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง หรือที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อเด็กได้ปฏิบัติต่อเด็กสมกับความสำคัญของเขาหรือยัง โดยเฉพาะพ่อแม่ ครู อาจารย์ เพราะว่าเด็กที่เจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญที่ดนั้นต้องมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ควบคู่กันไปถือว่าการอบรมเลี้ยงดูนั้นมีความสำคัญมาก  การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี (5  ปี  11 เดือน  29 วัน )  ซึ่งการจัดการศึกษาดังกล่าวจะมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากระดับอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่สำคัญต่อการวางรากฐานบุคลิกภาพและการพัฒนาทางสมอง  การจัดการศึกษาสำหรับเด็กในวัยนี้มีชื่อเรียกต่างกันไปหลายชื่อ  ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มีวิธีการและลักษณะในการจัดกิจกรรมซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยพัฒนาเด็กในรูปแบบต่าง ๆ กัน  การจัดการศึกษาปฐมวัยควรมีส่วนช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างเต็มที่  ซึ่งแนวคิดในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กในวัยนี้ทุกรูปแบบควรมีส่วนสำคัญดังที่มาสโซเกลีย(Massoglia.977 : 3 – 4 )  กล่าวเอาไว้ ดังนี้     
1.  เป็นการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้าน  นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงเริ่มเข้าเรียนในระดับโรงเรียน           
2.  วางพื้นฐานทางสุขภาพอนามัยให้กับเด็กตั้งแต่ต้นรวมทั้งเด็กที่มีข้อบกพร่องต่าง ๆ           
3.  สิ่งแวดล้อมทางบ้านควรมีส่วนช่วยให้เด็กเจริญเติบโต และพัฒนาในทุก ๆ ด้าน           
4.  พ่อแม่ควรเป็นครูคนแรกที่มีความสำคัญต่อลูก           
5.  อิทธิพลจากทางบ้านควรมีผลต่อกระบวนการในการพัฒนาเด็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น